วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ย่อเวชศึกษา

กิจของหมอ

          หมอยา คือ ผู้ที่ชำนาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ผู้ที่เข้าใจในวิธีนวดก็เรียกว่า หมอนวด
          หมอ มาจากคำว่า เวชะ คนมีความรู้ แผลงมาเป็น แพทย์ แปลออกเป็นคำไทยว่า หมอ

         หมอที่จะเป็นผู้รู้ชำนาญในการรักษาโรคได้นัน จะต้องรู้กิจ ๔ ประการ ในเบื้องต้นเสียก่อน แบ่งออกเป็นหมวดดังนี้ คือ

กิจ ๔ ประการ
                                              หมวดที่ ๑ รู้ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค
                                              หมวดที่ ๒ รู้จักชื่อโรค
                                              หมวดที่ ๓ รู้จักยารักษาแก้โรค
                                             หมวดที่ ๔ รู้ว่ายาอย่างใดควรจะแก้โรคชนิดใด

              หมวดที่ ๑ ที่ตั้งแรกเกิดของโรค

     ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรคนั้น ได้แก่ สมุฏฐาน ๔ ประการ คือ
          ๑. ธาตุสมฏฐาน
          ๒. อุตุสมุฏฐาน
          ๓. อายุสมุฏฐาน
         ๔. กาลสมุฏฐาน

สมุฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งที่เกิดโรคภัยไข้เจ็บจะบังเกิดขึ้น ก็เพราะสมุฏฐานเป็นที่ตั้ง
ธาตุสมุฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของธาตุ แบ่งธาตุออกเป็น ๔ กอง คือ

         ๑. ปัถวีสมุฏฐาน ดินเป็นที่ตั้ง แจกออก ๒๐ อย่าง
         ๒. อาโปสมุฏฐาน น้ำเป็นที่ตั้ง แจกออก ๑๒ อย่าง
         ๓. วาโยสมุฏฐาน ลมเป็นที่ตั้ง แจกออก ๖ อย่าง
         ๔. เตโชสมุฏฐาน ไฟเป็นที่ตั้ง แจกออก ๔ อย่าง

      จึงรวมเป็นธาตุสมุฏฐาน ๔๒ อย่าง หรือจะเรียกธาตุสมุฏฐานทั้ง ๔ ว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ก็ได้

          ปัถวีธาตุ ๒๐ คือ

  ๑.เกศา ผม ที่เป็นเส้นงอกอยู่บนศีรษะ
 ๒.โลมา ขน เป็นเส้นงอกอยู่ทั่วกายเช่นขนคิ้ว หนวดเคราเป็นต้น และขนอ่อนตามตัว
 ๓.นขา เล็บ ที่งอกอยู่ตามปลายนิ้วมือ และปลายนิ้วเท้า
 ๔.ทันตา ฟัน ฟังอย่าง ๑ เขี้ยวอย่าง ๑ กรามอย่าง๑ รวมเรียกว่าฟัน เป็นฟันน้ำนม มี ๒๐ ซี่ เป็ฯฟันแก่มี ๓๒ ซี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น