วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โรคบุรุษและสตรี ทับ ป่วง และ มรณญาณสูตร

ย่อจากพระคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา

          พระอารย์เจ้าผู้กรุณาแก่สัตว์โรคทั้งหลายท่านจึงแต่งคัมภีร์อันชื่อว่าทุราวสาขึ่นไว้ดังจะได้นำมากล่าวต่อไปนี้

ทุราวสา ๓๒ จำพวก

แบ่งออกเป็นทุราวสา ๑๒ จำพวก และ ปะระเมหะ ๒๐ จำพวก ดังต่อไปนี้

          ทุราวสา ๑๒ จำพวก แบ่งออกเป็น

          ทุราวสา ๔ จำพวก

          มุตฆาต ๔ จำพวก

          มุตกิต ๔ จำพวก

ปะระเมหะ ๒๐ จำพวก แบ่งออกเป็น

          สันทะฆาต ๔ จำพวก

          องคสูตร ๔ จำพวก

          ช้ำรั่ว ๔ จำพวก

          อุปทม ๔ จำพวก

          ไส้ด้วน ๔ จำพวก

ทุราวาส ๑๒ ประการ


๑. ทุราวาส ๔ ประการ

     ว่าด้วยน้ำปัสสาวะชั่ว ๔ ประการ คือ

          ๑.ปัสสาวะออกมา ขาวข้นดังน้ำขาว้ช็ด

          ๒.ปัสสาวะออกมา เหลืองดังน้ำขมิ้นสด

          ๓.ปัสสาวะออกมา เป็นโลหิตสดๆ แดงดังน้ำฝางต้มก็ดี

          ๔.ปัสสาวะออกมา ดำดังน้ำคราม

อาการให้ปวดหัวเหน่า ให้แสบองคชาต ย่อมให้สะบัดร้อนสะบัดหนาวเป็นเวลามีอาการต่างๆ

ยาแก้ปัสสาวะขาวดังน้ำขาวเช็ด

          ให้เอาการบูร เทียนดำ ผลเอ็น อำพัน แห้วหมู ขิงแห้ง เสมอภาตทำผงละลายน้ำผึ้งรวงกิน แก้โรคซึ่งปัสสาวะขาวดังน้ำขาวเช็ดหายแล

ยาแก้ปัสสาวะเหลืองดังน้ำขมิ้น

          เอาสมอไทย มหาหิงคุ์ เจตมูลแดง สารส้ม สุพรรณถันแดง ยาทั้งนี้เอาสิ่งละหนึ่งสลึง เทียนดำ ๑ บาทา ดอกคำไทย ๒ บาท ทำผงละลายน้ำมะนาวกิน ปัสสาวะเหลืองแล

ฝี

ย่อจากพระคัมภีร์ทิพมาลา


ลักษณะฝีวัณโรค

          ลักษณะวัณโรคอันบังเกิดภายในนั้น เกิดเพื่อจตุธาตุและตรีสมุฏฐานอันใดอันหนึ่ง ซึ่งจะวิปริตเป็น ชาติจะละนะโดยหย่อนพิการระคนกันเข้า แล้วตั้งต่อมขึ้นมามีประเภทต่างๆให้บุคคลทั้งหลายพึ่งเรียนรู้ไปเบื้องหน้าพอแจ้งได้โดยสังเขป เรียนว่า ฝีวัณโรค ๑๙ ประการ คือ

๑.ฝีปลวก

          เมื่อจะบังเกิดกะทำให้เจ็บในทรวงอก ที่ตั้งแห่งหัวใจ ตลอดไปตามสันหลังและให้ผอมเหลือง ให้อาเจียนออกมาเป็นโลหิต ให้เหม็นค่วคอ บิโภคอาหารไม่ได้ นอนมิหลับ

ยาแก้ฝีปลวก

          เอารากตะโกนา รากเป้ง กำแพงเจ็ดชั้น ดอกลั่นทม รากกระทุงลาย รากค้ดเค้า สิ่งละ ๒ บาท ขิงแห้ง ดีปลี เจตมูลเพลิง เปลือกหอยแครง เบญจเหล็ก เบญจชุมเห็ดเทศ รากกำจาย สิ่งละ ๑ สลึง ยาข้าวเย็น ๕ สลึง ต้มกินแก้ฝีปลวกหายดีนัก

          อีกขนานหนึ่งเอา เถาวัลย์เหล็ก เถาวัลย์เปรียง เชือกเขากหนัง รังมดลี่ รากพุมเรียงทั้งสอง ยาข้าวเย็น เสมอภาค ต้มกิน

          อีกขนานหนึ่งเอา เถาวัลย์เหล็ก เถาวัลย์เปรียง ดินแท่นปลวก รากพุมเรียงป่า ยอดอ้อยแดง ข้าวเย็นทั้งสอง เอาเสมภาค ต้มกินหายแล

๒.ฝีกะตุณะราย

          เมื่อจะบังเกิดให้ตึงแน่นในทรวง อาการทำพิษกลางคืน มากกว่ากลางวัน ให้จับสะบัดดร้อนสะบักหนาวไปทั้งตัวบิโภคอาหารไม่ได้ นอนมิหลับ

ยาแก้ฝีกะตุณะราย

          เอาเบญจเหล็กรากขี้กาทั้งสอง ราประคำไก่ รากองแตก ยาดำ สิ่งละ ๑ บาท ต้มกิน เป็นยาผ่าหัวฝีให้แตก

          อีกขนานหนึ่ง รากทนดี รากมะนาว รากมะงั่ว รากส้มซ่า รากหิ่งหาย ยอดลำเจียก บอระเพ็ด รากมะเขือขื่น รากมะแว้งทั้งสอง ตำเอาสิ่งละทะนาน น้ำมันวาทะนานหนึ่ง หุงให้คงแต่น้ำมัน ปล้วจึงเอาเนระพูสี ดีงูเหลือม ฝิ่นดิบ เปลือกประคำดีควาย สิ่งละ ๑สลึง ทำเป็นจุลปรุงลงในน้ำมันให้กินพอควรกำลัง เป็นยาดับพิษฝีกะตุณะรายดีนัก

          ยารุฝีเมื่อบุพโพแตกล้วเอาแก่นมะหาด แก่นปรู แก่นมะเกลือ แก่นสัก แก่นแสมสารเคี่ยวเอาน้ำสิ่งละทะนานมะพร้าวไฟ ๑ ลูก หุงให้คงแต่น้ำมันแล้วจึงคลุกคลีกันเข้ากับน้ำยาทั้งนั้นเคี่ยวไปให้เหลือแต่น้ำมันแล้วจึงเอาเมล็ดในสลอด ๓๓ เม็ด คั่วก้วยน้ำปลาร้าไหให้เหลือง ทำเป็นจุล ปรุงลงในน้ำมันเอาไว้ให่เย็น ให้กินหนึ่งช้อนหอย เป็นยารุฝี แก้ฝีกะตุณะรายนั้นหาย และรุสรรพฝีทั้งปวงก็ได้วิเศษนัก

          อีกขนานหนึ่ง เอาใบมะคำไก่ เจตมูลเหลิง ตรีกฏุก กระเทียมทอด เอาเสมอภาค บดด้วยสุราทาข้างนอก เป็นยาเกลื่อนฝีกะตุณะราย และดับพิษก็ได้หายวิเศษนัก

๓.ฝีมานทรวง

          เมื่อจะบังเกิดกระทำให้ยอกเสียด หายใจขัดในทรวงอก เจ็บกลางวันกลางคืน ให้ไอเป็นเสมหะเหนียวให้ซูบผอม ให้แน่นหน้าอกเป็นกำลัง ถ้าจะแก้ให้วางยาประจุเสียก่อน แล้วจึงกินยาประจำโรคต่อไป

โรคท้อง

ย่อจากพระคัมภัมภีร์อุทรโรค
          ว่าด้วยลักษณะอุทรโรคอันจะบังเกิดขึ้นแก่บุคคลทั้งหลาย มี ๑๘ ประการ อันเป็ฯชาติอวสานโรค (เป็นอาการระยะสุดท้ายของโรคตามที่กล่าวในพระคัมภีร์อื่น) ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ทั้งหลายต่างๆ เช่น ว่าด้วยอุทรวาตอติสาร อันเป็นปัจจุบันกรรมเป็นต้อนและกระษัยโรควุฒิโรคเป็นที่สุดดดยอนุโลมตามธาตุวิปริตในกองสมุฏฐานให้เป็นเหตุ กระทำให้ท้องนั้นใหญ่ขึ้นสมมุติว่ามาน แบ่งออกเป็น ๑๘ ประการ คือ ๑.มานน้ำ ๔     ๒.มานลม ๔     ๓.มานหิน ๔      ๔.มานโลหิต ๔     ๕.มานเกิดแต่ดาน ๒  

มานน้ำ ๔ ประการ
               ลักษณะมานนั้นเกิดแต่กระษัยลิ้นกระบือทำลายออก อาจารย์กล่าวไว้ในคัมภีร์กระษัยโรนั้นเสียแล้ว ในที่นี้จะว่าแต่อุทรโรค กระทำมนนาภีนั้นขึ้น มีแระเภท ๔ แระการ คือ
    
          ๑.มานน้ำอันน้ำเหลืองนั้นซึมซาบไปขังอยู่ในอุทร
กระทำให้ท้องนั้นเติมไปด้วยน้ำเหลือง ท้องนั้นก็ใหญ่ขึ้นดุหญิงมีครรภ์ลำใส้น้อยและลำใส้ใหญ่นั้นก็ลอยอยู่ในน้ำกระทำให้แน่นอกคับใจ บริโภคอาหารไม่ได้จะลุกนั่งให้เหนื่อยหอบเป็นกำลัง


ยาแก้มานน้ำเหลือง

          เอาจันทน์แดง ๑ จันทน์ขาว ๑ จันทน์ชะมด ๑ จันทนา ๑ ผลจันทน์ ๑ ดกอจันทน์ ๑ กระงาน ๑ กานพลู ๑ ประคำไก่ทั้ง ๕ ยาข้าวเย็นทั้ง ๒ หญามูลเหล็ก ๑ มูลเหล็กเลือด ๑ เปลือกสมอทะเล ๑ แกแล ๑ เนระพูสี ๑ สักขี ๑ แก่นสน ๑ แสมทั้ง ๒ แก่นสมอไทย ๑ แก่นสมอพิเภก ๑ แก่นสะเดา ๑ แก่นมะเกลือ ๑ แก่นสะแก ๑ แก่นทิ้งถ่อน ๑ แก่น ดพลทะเล ๑ แนประด่ ๑ เอาเสมอาค ต้มตามวิธีกิน

          อีกขนานหนึ่ง เอาลั่นทมทั้ง ๕ ยาดำ ๑ ข้างเหนียวดำ ๑ เปลือกต้นมะตูม ๑ เปลือกเลี่ยน ๑ แก่นมูลขี้เหล็กเลือด ๑ ข่าต้น ๑ รากสมอทะเล ๑ เอาสื่งละ ๑ บาท ผลสมอไทย ๑ ข่า ๑ เอาสิ่งละเท่าอายุ ต้มกินตามวิธี

๒.มานน้ำเกิดขึ้นเพราะไตพิการ
          มีน้ำซึมออกมาขังในท้อง กระทำให้อุจจาระให้เสียดแทง ต่อนวดจึงลั่นผายลมมิสะดวก กินยาถ่ายจึงคายลงแล้วกลับไปเป็นอีกถึงสองครั้งสามครั้ง แล้วโรคนั้นก็ทวีขึ้น คือ ให้ท้องใหญ่เต็มไปด้วยน้ำซึ้งมิได่ตกออกมา ครั้นแก่เข้ากระทำให้ร่างกายซุบผอม บริโภคอาหารไม่มีรส นอนไม่หลับ

ยาแก้มานน้ำเกิดขึ้นเพราะไตพิการ

          ถ้าจะแก้เอา สมอไทย ๑ สมอเทศ ๑ สมอพิเภก ๑ จันทน์ชะมด ๑ จันทนา ๑ เนระผูสี ๑ แกแล ๑ ไส้ขนุนละมุด ๑ ดินปริวขาว ๑ สารส้ม ๑ สิ่งละ ๑ บาท ผลกระวาน ๑ ผลกระเบา ๑ ผลกระเบียน ๑ ผลตะคร้อ ๑ ผลประคำดีควาย ๑ สิ่งละ๒ ส่วน เปลือกปีบ ๑ เปลือกเลี่ยน ๑ ยาข้าวเย็นทั้ง ๒ แก่นกันเกรา ๑ เปลือกเพกา ๑ เทพทาโร ๑ ข่าต้น ๑ จุณมูลเหล็ก ๑ รากเจตมูลเพลิง ๑ เกลือสินเธาร์ ๑ สิ่งละ๕ ส่วน ต้มกินตามวิธี

          อีกขนานหนึ่ง เอาน้ำนมราชสีห์เครือ ๑ ต้นหูปลาช่อน ๑ รากแจง ๑ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ต้นครอบจักรวาฬ ๑ เอาเสมอภาค ต้มกินตามวิธี

          อีกขนานหนึ่ง เอาแก่นลั่นทม ๑ แก่นสลัดได ๑ แก่นปรู ๑ แก่นสะเดา ๑ แก่นมูลเหล็ก ๑ รากโคกกระออม ๑ สหัสคุณเทศ ๑ รากกระทุ่มนา ๑ รากมะเกลือ ๑ รากสะแก ๑ รากคัดเค้า ๑ รากคัดลิ้น ๑ เอาสิ่งละ ๑ ส่วน รากจิงจ้อ ๑ รากทนดี เอาสิ่งละ ๒ ส่วน เปล้าน้อย ๑ ส้มกุ้ง ๑ เอาสิ่งละ ๓ ส่วน ขันทองพยาบาท ๑ พระขรรค์ชัยศรี ๑ เอาสิ่งละ๑ ส่วน รากตองแตก ๖ ส่วนต้มกินตามวิธี แทรกยดำตามธาตุ





โรคปากและตา

ย่อจากพระคัมภีร์มุขโรค
โรคที่เกิดในปากและคอ
            คัมภีร์มุขโรคกล่าวถึงโรคที่เกิดในลำคอและปาก เป็นโรคที่เกิดเพื่อโลกิต ๑๙ ประการ ดังนี้
                    
                     ๑.ทาสนะ                งอกขึ้นมาเหมือนเดือยไก่ ที่ใต้ลิ้น
                     ๒.มังสะ                   ขึนมาอย่างหนามขนุน ที่กลางลิ้นต้นลิ้น
                     ๓.กาละมังสะ           ลิ้นโต มันให้เขียวอยู่
                     ๔.จะละมังสะ           ขึ้นเหมือนลิ้นไก่ในคาง
                     ๕.ยาโตมีงสะ           ขึ้นในลิ้นสองข้างเหมือนงาช้างงอกออกมา
                     ๖.กัศมังสะ               งอกขึ้นมาเหมือนหน้าวัวงอกออกมาเเหลมอยู่ ในลิ้น
                     ๗.กะนะระมังสะ       ลิ้นพองโตเขื่ง เป็นขุมเต็มลิ้น
                     ๘.มุกจามังสะ          ลิ้มบวม
                     ๙.มุขะโจมังสะ        ผุดขึ้นมาเหมือนเม็ดข้าว ลิ้นเขียว
                   ๑๐.ทันตะโจมังสะ     ในลำคอตีบอยู่เหมือนใยแมงมุม
                   ๑๑.ทันตะมูมังสะ       ลิ้มมันขาวอยู่ เป็นหนอง เหม็นคาวเลือดคอออกบ่อยๆ
                   ๑๒.ทันตะโรสะ          เกิดในต้นฟัน โคนฟันขาว
                   ๑๓.สาภิร                   เกิดในต้นฟัน บวมขึ้นมาเหมือนฝาหอยแครง
                   ๑๔.สะวาระ                มีอาการฝาดในปากในลิ้นในคาง
                   ๑๕.กัปปิ                    บวมขึ้นในคอ
                   ๑๖.กัปโป                   บวทั้งคอ
                   ๑๗.ทันตะบุบผา         บวมออกมาในลำคอทั้งสองข้าง เหมือนเม็ดข้าวโพด เหมือนงวงช้างเป็ฯตออยู่ในลำคอ
                   ๑๘.มุกขะวามังสะ      เป็นเม็ดตุ่มใสที่ลิ้น
                   ๑๙.กาละมุข              ลิ้นบวมดำ

ยาแก้มังสะ
               เอาจันทน์แดง จันทน์ขาว เทียนดำ เมล็ดแตงกวา มาศ น้ำมันงาประสมกันทาลิ้น 
ยาแก้กาละมังสะ
               เอาเปลือกตีนเป็ดบก ต้มอม แทรกน้ำผึ้ง
ยาแก้กัศมังสะ
               เอารากฝ้ายผี ต้มด้วยน้ำปูนใสกินหายแล
ยาแก้มุกจามังสะ
               ให้เอางาช้าง ลูกปีบ พิมเสน น้ำประสานทอง ปั้นเป็นเม็ดอม
               อีกขนานหนึ่ง เอาใบพลูแก จันทน์ โกฐกระดูก ลูกจันทน์ เอาเสมอภาคทำเป็นผงกินกับหมาก ใส่แต่น้อย
ยาแก้มุกขะโจมังสะ 
               เอาจันทน์ทั้งสองดีงูเหลือม บดทาลิ้น

ไข้

ย่อจากพระคัมภีร์ตักศิลา


          กล่าวถึงเมืองตักกะศิลาเกิดความไข้วิปริตเมื่อห่าลงเมืองท้าวพระยาไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งปวงเกิดความไข้ล้มตายเป็นอันมาก ซึ่งครที่รอดตายก็ออกจากเมืองตักกะศิลาไป ยังเหลือแต่เมืองเปล่า ยังมีฤๅษีองค์หนึ่งมีนามมิได้ปรากฎ เที่ยวโคจรมาแต่ป่าหิทพานต์ เห็นเมืองเปล่ามีแต่ซากศพคนตายก่ายกองทั้งบ้านเมือง เธอจึงจัดพิธีซุบซากศพนั้นขึ้น แล้วถามว่าท่านทั้งหลายนี้เป็นเหตุอะไร จึงล้มตายเป็นอันมาก ฝูงคนทั้งหลายที่ซุบเป็นขึ้นมานั้น จึงแจ้งความว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บ้านเมืองนี้เกิดความไข้เป็นพิกลต่างๆ ยางคนไข้ ๑ วันบ้าง ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง ๔ วันบ้างตาย บางคนนอน บางคนนั่ง บางคนยืน บางคนตะแคง บางคนหงายตาย เป็นเหตุเพราะความตายอย่างนี้ พระดาบสได้ฟังถ้อยคำคนทั้งหลายบอกดังนั้น ก็มีใจกรุณาแก่สัตว์ทั้งหลาย เธอพิจารณาด้วยฌาณสมาบัติก็รู้ว่าห่ าลงเมือง จึงแต่งพระคัมภีร์แก้ไข้เหนือไข้พิษไข้กาฬตักกะสิลาสำหรับแพทย์ไปข้างหน้า ให้รู้ประเภทอาการเพื่อให้สืบอายุสัตว์ไว้

ไข้พิษ ๒๑ จำพวก 
          ท่านแสดงลักษณะอาการร่วมของไข้พิษต่างๆแต่ละชนิดไว้ส่วนหนึ่ง แล้วแสดงลักษณะอาการของไข้พิษที่แตกต่างกันไว้อีกส่วนหนึ่ง รวม ๒๑ จำพวก  ดังนี้
         ไข้อีดำอีแดง  ไข้ปานดำปานแดง ไข้รากสาด ไข้สายฟ้าฟาด ไข้ระบุชาด ไข้กระดานหิน ใข้สังวาลย์พระอินทร์  ไข้มหาเมฆ  ไข้มหานิล  ไข้ข้าวไหม้ใหญ่น้อย ไข้ข้าวไหม้ใบเกรียม  ไข้ไฟเดือนห้า  ไข้เปลวไฟฟ้า  ไข้หงส์ระทด  ไข้ดาวเรือง  ไข้จันทรสูตร  ไข้สุริยสูตร  ไข้เมฆสูตร

ลักษณะอาการร่วมของไข้พิษ
          บางทีไม่เจ็บไข้ สบายอยู่เป็นปกติ ไข้เกิดในกาย ให้ผุดเป็นแผ่น เป็นเม็ดแดงดำเขียวก็ดี เป็นทรายไปทั่วตัวก็มี ผุดได้ ๑ วัน ๒ วัน ๓ วันจึงล้มไข้ใน ๑ วัน ๒ วัน ๓ วันทำพิษต่างๆ ผุดขึ้นเป็นแผ่นเป็นวง เป็นเม็ดทรายไปทั่วตัวก็มี เป็นสีแดง สีดำ สีเขียว สีน้ำคราม เป็นสีต่างๆรอดบ้างตายบ้างแล ให้แพทย์เร่งยาจงหนัก ยากระทุ้งให้ไข้นั้นขึ้นให้สิ้น ถ้ากระทุ้งขึ้นมิสิ้นกลับเข้าไปกิน ตับ ปอด ให้ลงโลหิตเสมหะ บางทีลงทางทวารปัสสาวะให้ปิดปัสสาวะ บางทีให้อาเจียนเป็นโลหิต ให้ไอ บางทีทำให้ร้อนระหายน้ำหอบสะอึกลิ้นกระด้างคางแข็ง0 ให้ชักตาเหลือกตากลับ บางทีทำพิษให้จับหัวใจให้นอนกรนไปไม่มีสติสมปฤดี ให้จับกรนคลอกๆ บางทีกระทำพิษให้ปิตตะสมุฏฐานกำเริบ ให้เหลืองำปทั่วกาย ถ้าแพทย์รักษาดีก็จะรอด ถ้ารักษาไม่ดีก็ตายให้ตรองจงหนัก ให้แพทย์พิจารณารักษาไข้พิษ ไข้เหนือให้ละเอียด

โรคลม

ย่อจากพระคัมภีร์วดาร

          อาจารย์กล่าวไว้ว่า มนุษย์ทั้งหลายจะเกิดสรรพโรดต่างๆ ตั้งแต่คลอดจาดครรภ์มารดาตราบเท่าจนอายุขัย อาศัยหิตและลม ต่อไปนี้จักสำแดงซึ้งลมอันบัฃเกิดโทษให้ถึงพินาศอันตรายเป็นอันมาก คือ

ลมอันบังเกิดโทษให้ถึงพินาศอันตรายแนอันมาก ๒ ประการ

                             อุทธังคมาวาต พัดขึ้นเบื้องบน

                             อโธคมาวาต พัดลงไปจนปลายเท้าเป็นเบื้องต่ำ

          ถ้าลมทั้งสองระคนกันเข้าเมื่อใด จะทำโลหิตนั้นร้อนดั่งไฟ อันเกิดวันละ ๑๐๐ หน อาการทั้ฃ ๓๒ ก็พิกลจากภาคที่อยู่เตโชธาตุก็มิปกติ เหตุที่ทำให้ลมทั้งสองระคนกันได้ ให้โมษแก่มนุษย์ทั้งปวง เนื่องจาก ๑. บริโภคอาหารมิได้เสมอ และ ๒. ต้องร้อนและเย็นยิ่งนัก

สาเหตุที่ทำให้ลมทั้งสองระคนกัน

๑.อาหารให้โทษ ๘ ประการ

        ๑. กินมากกว่าอิ่ม

         ๒. อาหารดิบ

         ๓. อาหารเน่า

         ๔. อาหารบูด

         ๕. อาหารหยาบ

         ๖. กินน้อยยิ่งนัก
     
         ๗. กินล่วงผิดเวลา

         ๘. อยากเนื้อผู้อื่นยิ่งนัก

๒.ต้องร้อนและเย็นยิ่งนัก

            ดังนั้นลมอโธคมาวาต




ย่อจากพระคัมภีร์มัญชุสารวิเชียร


ลมเป็นก้อนเป็นดาน (ลมคุละมะ) ๑๐ ประการ

กล่าวถึงลม ๑๐ ประการ บังเกิดในลำดับโรคอื่นก็มี บังเกิดแต่ก่อนไข้ทั้งปวงก็มี ลม ๑๐ ประการซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนเป็นดานนั้น คือ

๑. ลมทักษิณะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่เบื้องขวา มีนาภีเป็นที่สุด

๒. ลมวามะกะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่เบื้องซ้าย มีนาภีเป็นที่สุด

๓. ลมโลหะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่ในเบื้องต่ำแห่งนาภี

๔. ลมเสลศะมะกะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่เบื้องบนแห่งนาภี

๕. ลมกฤตคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่ในอุระประเทศ

๖. ลมกฤตคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่ในไส้มีนาภีเป็นเบื้องต่ำ มีเสมหะกระจายออกเป็นอัน

มาก

๗. ลมปิตะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่ในอุระมีดีซึมอยู่เป็นอันมาก

๘. ลมรัตตะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งอยู่หน้าขามีโลหิตแตกออกมา

๙. ลมทัษฐะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งแอบก้อนลมวามะกะคุละมะอยู่

๑๐. ลมประวาตะคุละมะ เป็นก้อนดานตั้งแอบก้อนบมทักษิณะคุละมะอยู่

อันว่าลมก้อน ดาน เถา อันใดอันตั้งอยู่ในอกและตั้งอยู่บนยอดไส้เกี่ยวผ่านลงไปอยู่ในนาภี นั้นตั้งอยู่ได้เดือน

หนึ่ง อย่าพึงรักษาเลย อันว่าลมก้อน ดาน เถา อันอื่นนอกกว่าลม ๑๐ ประการนี้แพทย์จะเอาเยียวยารักษาก็หาย

ลมปิตตะคุละมะ นั้นแพทย์มิพึงรักษา แต่ถ้าแพทย์จะรักษา ก็ให้เผาเหล็กให้แดงเอาทาบลงบนสรรพยา เพื่อจะให้ที่เผานั้นพองขึ้น ทำทั้งนี้เพื่อมิให้พยาธิจำเริญขึ้นมาได้

ปฐมกำเนิด กุมารโรคและสตรีโรค

ย่อจากคัมภีร์พระปฐมจิดา
          พระคัมภีร์ปฐมจินดานี้รจนาโกยปู่ชีวกโกมานภัจจ์ กล่าวถึงการเกิดของมนุษย์ การดูแลสตรีในระหว่างตั้งครรภ์การดูแลทารกในรรภ์ การคลอด การฝังรก การดูแลรักษาหลังคลอด

ว่าด้วยลักษณะพรมปโรหิต
          เมื่อจะตั้งแผ่นดินใหมาก็บังเกิดกัลป์ ด้วยเพลิงประลัยกัลป์นั้นไหม้ฟ้า แผ่นดินภูเขา และเขาพระสุเมรุสิ้นแล้วบังเกิดฝนหเหญ่ตกลงมา ๗ วัน ๗ คืน และน้ำท่วมขึ้นไปถึงชั้นพรมปโรหิต พรมปโรหิตจึงเล็งลงมาดู ก็เห็นซึ้งดอกอุบล ๕ ดอก ผุดขึ้นมา เหนือน้ำงามหาที่จะอุปมามิได้ ท้าวมหาพรหมจึงบอกแก่พรหมทั้งหลายว่ แผ่นดินใหม่นี้ จะบังเกิดพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๕ พระองค์ น้ำค้างเปือกตมจึงตกลงมา ๗ วัน ๗ คืน แล้วข้นเข้าดุจดังสวะอันลอยอยู่เหนือหลังน้ำ หนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์
          เมื่อแผ่นดินและเขาพระสุเมรุตั้งขึ้นแล้วนั้น พระอิศวรผูเป็นเจ้าเธออาราธนพรหมองค์ทรงนามว่าพรหมจารี ลงมากินง้วนดิน แล้วก็ทรงครรภ์คลอดบุตรไว้ ๑๒ คน เกิดด้วยครรภปรามาศ คือเอามือลูบนาภีก็มีครรภ์ เกิดบุตรแพร่ไปทั้ง ๔ ทวีป แตกภาษาต่างๆ กัน แต่ชมภูทวีปนี้เป็นกามราคะ เสพเมถุนสังวาสจึงมีครรภ์

กำเนิสัตร์โลก ๔ ประการ
                   ๑.ชลามพุชะ       สัตว์ที่เกิดมาปฎิสนธิในครรภ์ (เป็นตัวค่อยๆเจริญในมดลูก)
                   ๒.อัณฑชะ          สัตว์ที่เกิดเป็นฟองฟัก (เกิดในไข่)
                   ๓.สังเสทชะ        สัตว์มาปฎิสนธิด้วยเปลือกตม (เกิดในที่โสโครก เช่น พวกหนอน พยาธิ)
                   ๔.อุปปาติกะ       สัตว์ปฎิสนธิเป็นอุปปาติกะไม่มีสิ่งใดๆก็เกิดขึ้น (เกิดเป็นตัวทันที)

สตรีประเภทผิดจากบุรุษ ๒ ประการ คือ
                    ๑.ต่อมเลือด (มดลูก รังไข่)
                    ๒.น้ำนมสำหรับเลี้งบุตร

          เมื่อเริ่มมีระดูมานั้น ก็ให้ฝันเห็นว่ามีบุรุษมาร่วมรสสังวาสเมถุนตามชาติวิสัย จึงสมมติว่า วิทยาธร มาลอบชมด้วยประเวณี ตั้งแต่นั้นมาก็มีระดู และ ปโยธร คือ เต้าถันตั้งขึ้น

โหตปกติโทษ ๕ ประการ
           ๑.โลหิตระดูอันบังเกิดมาแต่หทัย สตรีผ้ใดไข้ลงมักระส่ำระส่ายครั่งไคล้ใหลหลงให้ขึ้งโกรธ ให้ริมฝีปากเขี้ว ริมตาเขียว
           ๒.โลหิตระดูอันบังเกิดมาแต่ดีและตับ สตรีผู้ใดไข้ลงมักให้เชื่อมให้มึนมัวเมาซบเซา มิได้รู้ว่ารุ่งและค่ำคืนและวันและให้นอนสะดุ้งหวาดไหวเจรจาด้วยผี สมมุติเรียกว่า ขวัญกินเถโทษทั้งนี้คือฏลหิตกระทำเอา ถ้ารู้ไม่ถึงกำเนิก ๗ วันตาย เมื่อตายแล้วจึงผุดขึ้นมาเป็ฯแว่นเป็นวงสีเขียวสีแดงก็มี ดุจกล่าวมานั้น
           ๓.โลหิตระดูอันบังเกิดมาแต่เนื้อ สตรีผู้ใดไข้ลงกระทำให้ร้อนใน ผิวเนื้อและหนังแดงดังลูกตำลึงศุก ขึ้นเป็นยอดผดให้คันทั้งตัว ต่อมีระดูจึงหายไป
           ๔.โลหิตระดูอันบังเกิดแต่เส้นเอ็น สตรีผู้ใดไข้ลงกระทำให้เจ็บตัวทั่งสรรพวงค์กาย ให้สะบัดร้อนสะบัดหนาว ให้เจ็บปวดศีรษะ เป็นกำลัง ต่อมีระดูมาจึงหายไป
           ๕.โลหิตระดูอันบังเกิดมาแต่กระดูก สตรีผู้ใดไข้ลงมักกระทำให้เมื่อยกระดูกไปทุกข้อกระดูกต่อกันดังจะคลาด ให้เจ็บเอว เจ็บหลัง ต่อมีระดูจึงหายไป          


วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สมุฏฐานวินิจฉัย

สมุฏฐานวินิจฉัย



 ย่อจากพระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย

          พระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย เป็นตราชูแห่งคัมภีร์เวชศาสตร์ทั้งหลาย เป็นหลักเป๋นประฑานอันยิ่งใหญ่ลึกซึ้งคัมถีร์ภาพนักถ้าแพทย์ผู้ใดมิได้เรียนคัมภีร์นี้ จะวางยาก็บมิอาจที่จะได้ต้องกับโรคโดยแท้ ดหตุว่ามิได้รู้ในกองสมุฎฐานพิหัดอันนี้ แพทย์ผู้นั้นได้ชื่อว่า มิจฉาญาณแพทย์ แพทย์ซึ่งมีวิจารณปัญญาตรึกตรองศึกษาในเวชศึกษาทั้งหลาย แลสมุฎฐานนี้ให้ปรีชา จึงวางยาต้องตามสมุฎฐานพิกัดอันควรแก่โรค เหตุว่ารู้ในกองสมุฎฐานโดยแท้ แพทย์ผู้นั้นจึงได้ชื่อว่า เสฎฐญาณแพทย์

          กองพิกัดสมุฎฐาน

๑.ธาตุสมุฎฐาน

๒.ฤดูสมุฎฐาน

๓.อายุสมุฎฐาน

๔.กาลามุฎฐาน

มหาพิกัดสมุฎฐ่านธาตุ


                                                    เป็นที่ตั้งแห่งภูมิโรคแลภูมิแพทย์ทั้งปวง

          ๑.สมุฎฐานธาตุเตโชพิกัด เป็นที่ตั้งแห่ง จตุกาลเตโช (ธาตุไฟ ๔) ซึ่งจะวิปริตเป็น ชาติ(เกิดขึ้น) จลนะ(เคลื่อนไป) ภินนะ(แตกดับ) ก็อาศัย พัทธะปิตตะ(ดีในฝัก) อพัทธะปิตตะ(ดีนอกฝัก) กำเดา(เปลวแห่งความร้อน)

          ๒.สมุฎฐานธาตุวาโยพิกัด เป็นที่ตั้งแห่ง ฉลกาลวาโย (ธาตุลมทั้ง ๖) ซึ่งจะวิปริตเป็น ชาติ(เกิดขึ้น) จลนะ(เคลื่อนไป) ภินนะ(แตกดับ) ก็อาศัย หทัยวาตะ(ลมหายใจ) สัตถกะวาตะ(ลมมีพิษดุจมีดคม) สุมนาวาตะ(ลมในเส้นศูนย์กลางกาย)

          ๓.สมุฎฐานธาตตุอาโปพิกัด เป็นทีตั้งแห่ง ทวาทศอาโป (ธาตุน้ำ ๑๒) ซึ่งจะวิปริตเป็น ชาติ(เกิดขึ้น) จลนะ(เคลื่อนไป) ภินนะ(แตกดับ)  ก็อาศัยศอเสมหะ(เสมหะในลำคอ)  อุระเสมหะ(เสมหะในทรวงอก)  คูถเสมหะ(เสมหะในช่องทวาร)

          ๔.สมุฎฐานธาตุปถวีพิกัด เป็นที่ตั้งแห่ง วิสติปถวี (ธาตุดิน ๒๐) ซึ่งจะวิปริตเป็น ชาติ(เกิดขึ้น) จลนะ(เคลื่อนไป) ภินนะ(แตกดับ) ก็อาศัย  หทัยวัตถุ(ก้อนเนื้อหัวใจ)  อุทริยะ(อาหารใหม่)  กรีสะ(อาหารเก่า)


ฤดูสมุฎฐาน

ฤดู ๓ คิมหันตฤดู ฤดูร้อน แรม ๑ ค่ำเดือน ๔ –ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ พิกัดปิตตะสมุฎฐานให้เป็นเหตุ
          วสันตฤดู ฤดูฝน แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ –ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ พิกัดวาตะสมุฎฐานให้เป็นเหตุ
          เหมันตฤดู ฤดูหนาว แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๒ –ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ พิกัดเสมหะสมุฎฐานให้เป็นเหตุ

ฤดู ๖ คิมหันตฤดู แรม ๑ ค่ำเดือน ๔ –ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ พิกัดปิตตะสมุฎฐานให้เป็นเหตุ
          เสมหะสมุฎฐานระคน
         วสันตฤดู แรม ๑ ค่ำเดือน ๖ –ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ พิกัดปิตตะสมุฎฐานให้เป็นเหตุ
          วาตะสมุฎฐานระคน
         วัสสานะฤดู แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ –ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ พิกัดวาตะสมุฎฐานให้เป็นเหตุ
          ปิตตะสมุฎฐานระคน
         สาระทะฤดู แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๐ –ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ พิกัดวาตะสมุฎฐานให้เป็นเหตุ
          เสมหะสมุฎฐานระคน
         เหมันตฤดู แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๒ –ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนยี่ พิกัดเสมหะสมุฎฐานให้เป็นเหตุ
          วาตะสมุฎฐานระคน
         ศิศระฤดู แรม ๑ ค่ำเดือนยี่ –ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ พิกัดเสมหะสมุฎฐานให้เป็นเหตุ
          ปิตตะสมุฎฐานระคน

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ย่อเวชศึกษา

กิจของหมอ

          หมอยา คือ ผู้ที่ชำนาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ผู้ที่เข้าใจในวิธีนวดก็เรียกว่า หมอนวด
          หมอ มาจากคำว่า เวชะ คนมีความรู้ แผลงมาเป็น แพทย์ แปลออกเป็นคำไทยว่า หมอ

         หมอที่จะเป็นผู้รู้ชำนาญในการรักษาโรคได้นัน จะต้องรู้กิจ ๔ ประการ ในเบื้องต้นเสียก่อน แบ่งออกเป็นหมวดดังนี้ คือ

กิจ ๔ ประการ
                                              หมวดที่ ๑ รู้ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค
                                              หมวดที่ ๒ รู้จักชื่อโรค
                                              หมวดที่ ๓ รู้จักยารักษาแก้โรค
                                             หมวดที่ ๔ รู้ว่ายาอย่างใดควรจะแก้โรคชนิดใด

              หมวดที่ ๑ ที่ตั้งแรกเกิดของโรค

     ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรคนั้น ได้แก่ สมุฏฐาน ๔ ประการ คือ
          ๑. ธาตุสมฏฐาน
          ๒. อุตุสมุฏฐาน
          ๓. อายุสมุฏฐาน
         ๔. กาลสมุฏฐาน

สมุฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งที่เกิดโรคภัยไข้เจ็บจะบังเกิดขึ้น ก็เพราะสมุฏฐานเป็นที่ตั้ง
ธาตุสมุฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของธาตุ แบ่งธาตุออกเป็น ๔ กอง คือ

         ๑. ปัถวีสมุฏฐาน ดินเป็นที่ตั้ง แจกออก ๒๐ อย่าง
         ๒. อาโปสมุฏฐาน น้ำเป็นที่ตั้ง แจกออก ๑๒ อย่าง
         ๓. วาโยสมุฏฐาน ลมเป็นที่ตั้ง แจกออก ๖ อย่าง
         ๔. เตโชสมุฏฐาน ไฟเป็นที่ตั้ง แจกออก ๔ อย่าง

      จึงรวมเป็นธาตุสมุฏฐาน ๔๒ อย่าง หรือจะเรียกธาตุสมุฏฐานทั้ง ๔ ว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ก็ได้

          ปัถวีธาตุ ๒๐ คือ

  ๑.เกศา ผม ที่เป็นเส้นงอกอยู่บนศีรษะ
 ๒.โลมา ขน เป็นเส้นงอกอยู่ทั่วกายเช่นขนคิ้ว หนวดเคราเป็นต้น และขนอ่อนตามตัว
 ๓.นขา เล็บ ที่งอกอยู่ตามปลายนิ้วมือ และปลายนิ้วเท้า
 ๔.ทันตา ฟัน ฟังอย่าง ๑ เขี้ยวอย่าง ๑ กรามอย่าง๑ รวมเรียกว่าฟัน เป็นฟันน้ำนม มี ๒๐ ซี่ เป็ฯฟันแก่มี ๓๒ ซี่

ประวัติการแพทย์แผนไทย

ความเบื้องต้น
             การแพทย์แผนไทยมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานพร้อมๆกับการกำเนิดมนุษย์ชาติ ผู้คนทุกชาติทุกภาษาต่างก็มีวิชาการแพทย์ของตนเอง แตกต่างกันไปตามแนวปรัชญาการแพทย์พื้นฐานของแต่ละกลุ่มชน แต่ส่วนมากที่เหมือนกันสามารถนำมาใช้ร่วมกันได้คือ การนำเอาสิ่งที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นในธรรมชาติมาใช้ ตามหลักพุทธศาสนา สรรพสิ่งทั้งหลายย่อมประกอบด้วย อนู และ ปรมาณู เมื่อประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มเป็นก้อนแล้วจึงแบ่งออกตามรูปลักษณะเป็น ๔ กลุ่ม เรียกว่า กองธาตุมี ๔ กอง ลักษณะแข็ง เรียกว่า ธาตุดิน ลักษณะไหลเกาะกุมและเย็น เรียกว่า ธาตุน้ำ ลักษณะเคลื่อนไหวไปมา เรียดว่า ธาตุลม ลักษณะให้เกิดความร้อน เรียกว่าธาตุไฟ
              ทุกสิ่งย่อมมีพลังควบคุมอยู่ในตัวเอง พลังงานในคนและสัตร์ เรียกว่า จิต พลังงานในวัตถุ เรียกว่า ภูตะ จะเห็นว่าในธรรมชาติ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่ ย่อมมีพลังงานอยู่ในตัวเองทั้งสิ้น เมื่อพิจารณาในด้านการรักษาดรคหรือแก้ไขความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ ก็คือ การแก้ไขการเสียสมดุลย์ของธาตุทั้ง ๔ อันประกอบขึ้นเป็นร่างกายพลังงานที่มีอยู่ในสรรพสิ่งนธรรมชาติ เรียกตามวัตถุกระสงค์ทางการแพทย์ว่า สรรพคุณเราสามารถนำสรรพคุณในการรักษาของสรรพสิ่งที่มีอยู่แตกต่างกันไปมาใช้เกิดประโยขน์แก่มนุษย์ได้

กิจของหมอ


หมอยา คือ ผู้ที่ชำนาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ผู้ที่เข้าใจในวิธีนวดก็เรียกว่า หมอนวด
หมอ มาจากคำว่า เวชะ คนมีความรู้ แผลงมาเป็น แพทย์ แปลออกเป็นคำไทยว่า หมอ

            หมอที่จะเป็นผู้รู้ชำนาญในการรักษาโรคได้นัน จะต้องรู้กิจ ๔ ประการ ในเบื้องต้นเสียก่อน แบ่งออกเป็นหมวดดังนี้ คือ
                  
                        กิจ ๔ ประการ
             หมวดที่ ๑ รู้ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค
             หมวดที่ ๒ รู้จักชื่อโรค
             หมวดที่ ๓ รู้จักยารักษาแก้โรค
            หมวดที่ ๔ รู้ว่ายาอย่างใดควรจะแก้โรคชนิดใด

            หมวดที่ ๑ ที่ตั้งแรกเกิดของโรค

ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรคนั้น ได้แก่ สมุฏฐาน ๔ ประการ คือ
             ๑. ธาตุสมฏฐาน
             ๒. อุตุสมุฏฐาน
             ๓. อายุสมุฏฐาน
            ๔. กาลสมุฏฐาน

สมุฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งที่เกิดโรคภัยไข้เจ็บจะบังเกิดขึ้น ก็เพราะสมุฏฐานเป็นที่ตั้ง
ธาตุสมุฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของธาตุ แบ่งธาตุออกเป็น ๔ กอง คือ

     ๑. ปัถวีสมุฏฐาน ดินเป็นที่ตั้ง แจกออก ๒๐ อย่าง

    ๒. อาโปสมุฏฐาน น้ำเป็นที่ตั้ง แจกออก ๑๒ อย่าง

    ๓. วาโยสมุฏฐาน ลมเป็นที่ตั้ง แจกออก ๖ อย่าง

   ๔. เตโชสมุฏฐาน ไฟเป็นที่ตั้ง แจกออก ๔ อย่าง

จึงรวมเป็นธาตุสมุฏฐาน ๔๒ อย่าง หรือจะเรียกธาตุสมุฏฐานทั้ง ๔ ว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ก็ได้

              ปัถวีธาตุ ๒๐ คือ

๑.เกศา ผม ที่เป็นเส้นงอกอยู่บนศีรษะ

๒.โลมา ขน เป็นเส้นงอกอยู่ทั่วกายเช่นขนคิ้ว หนวดเคราเป็นต้น และขนอ่อนตามตัว

๓.นขา เล็บ ที่งอกอยู่ตามปลายนิ้วมือ และปลายนิ้วเท้า

๔.ทันตา ฟัน ฟังอย่าง ๑ เขี้ยวอย่าง ๑ กรามอย่าง๑ รวมเรียกว่าฟัน เป็นฟันน้ำนม มี ๒๐ ซี่ เป็ฯฟันแก่มี ๓๒ ซี่